วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

จับแม่ทัพไปไถนา-บทที่ 261 เล้าไก่

          “ย่อมเป็นเช่นนั้น!”เหลียนฟางโจวเอ่ยด้วยรอยยิ้ม “หาไม่แล้ว จะจัดการผืนดินกว้างใหญ่ปานนี้ได้อย่างไร?  แล้วยิ่งไม่รู้ว่าจะเริ่มทำจากจุดไหนด้วย!”

        ทั้งสองหนุ่มสาวต่างเป็นพวกบ้างาน  พอกลับไปเย็นวันนั้นก็หารือกันต่อ  พอวันรุ่งขึ้นการเตรียมการทุกแบบก็เริ่มขึ้น

  ในเมื่อวางแผนเลี้ยงไก่ เล้าไก่ย่อมถูกสร้างขึ้น

       การที่เหลียนฟางโจวปล่อยพื้นที่ราบเนื้อที่กว้างใหญ่ที่ตีนเขาไว้เฉย ๆ  โดยไม่การถากถางเพื่อทำไร่ฝ้ายไว้ล่วงหน้าแล้วนั้น ก็เพื่อเตรียมไว้สร้างเล้าไก่ ยามนี้จึงเอาคนเข้ามาทำงาน

  โรงเรือนไม้ทรงหน้าจั่ว ได้ถูกประมาณไว้ว่า จะสร้างเป็นสองหลัง ตั้งอยู่เคียงกัน แต่แยกเป็นอิสระต่อกัน แต่ละหลังยาว 13 หมี่(เมตร) กว้าง 6 หมี่ โครงสร้างเป็นไม้  หลังคาสูงมุงด้วยเปลือกสน และตัวเรือนยกพื้นสูงจากพื้นดิน ครึ่งหมี่ มีไม้กระดานแผ่นกว้าง 1 หมี่ สองสามแผ่นพาดเป็นบันไดขึ้นลง

  พื้นของแต่ละโรงเรือนไม่ปิดทึบ หลังจากสร้างโครงเสร็จแล้ว จะนำแท่งไม้แข็งแรงทนทานกว้าง 2 นิ้วมือ ปูเป็นพื้นโดยตอกตะปูยึดไว้ ทีละแท่ง โดยทิ้งช่องว่างระหว่างกันไว้หนึ่งนิ้วมือ เมื่อไก่ขี้ทิ้งไว้ข้ามคืน ขี้ไก่ก็จะไหลร่วงผ่านช่องว่างนั้น และไปกองรวมอยู่บนพื้นดินใต้โรงเรือนนั้น เมื่อต้องการทำความสะอาด ก็ใช้พลั่วที่มีด้ามจับยาวที่ทำขึ้นเป็นพิเศษกวาดขี้ไก่ออกมา  ในช่วงกลางวัน จะมีหน้าต่างราว 10 บานเปิดทิ้งไว้ เพื่อให้ระบายความร้อนและอากาศ  ส่วนของเสียที่ไก่ทิ้งไว้นั้น จะมีการหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็ทำให้เล้าไก่สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น และสามารถป้องกันการแพร่พันธุ์ของเชื้อโรคได้

  เมื่อใคร่ครวญดูแล้วว่า เป็นการไม่สะดวกที่จะเลี้ยงไก่ตัวเล็กกับไก่ตัวใหญ่โตเต็มวัยปะปนกัน  ดังนั้นในแต่ละห้องตรงกลางจะกั้นผนังแบ่งไว้ โดยจะเจาะช่องเล็ก ๆไว้ตรงผนังกั้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ไก่ที่ตัวเล็กว่าลอดออกมาได้

  ยิ่งไปกว่านั้นสองห้องเหล่านี้ ห้องที่มีขนาดเล็กกว่าไม่มากจะถูกใช้เป็นที่ฟักไข่ของแม่ไก่และเลี้ยงดูลูกเจี๊ยบที่เพิ่งเกิดใหม่โดยเฉพาะ

       ลูกเจี๊ยบที่เกิดมาแข็งแรงดี จำเป็นต้องถูกเลี้ยงต่ออีก 10 วันถึง ครึ่งเดือน ก่อนที่พวกมันจะถูกเปลี่ยนห้อง โดยใช้ช่องเล็กที่เชื่อมระหว่างห้อง

  บนพื้นที่ ๆ ติดเล้าไก่ จะกันพื้นที่ไว้เป็นส่วน ๆ จำนวน สองสามส่วน โดยแต่ละส่วนจะมีขนาดยาวหนึ่งหมี่ครึ่งและกว้างหนึ่งหมี่ครึ่ง ถูกยกพื้นสูงหนึ่งหมี่ครึ่ง โดยพื้นผิวตั้งใจปูด้วยอิฐสีน้ำเงินเรียบลื่น ซึ่งเอาไว้ใช้ให้น้ำและอาหารไก่โดยเฉพาะ โดยจะโปรยอาหารไปรอบ ๆ เล้าไก่ ทำให้ยามที่ไก่กินอาหาร จะไม่มุงกันแน่นในจุดเดียว

  เหลียนฟางโจววางแผนเลี้ยงไก่ราวสองพันตัวเป็นการทดลองดูในปีนี้ ดังนั้น การสร้างเล้าไก่เช่นนั้นไว้ 2 โรงเรือน ก็เพียงพอแล้ว

       ตามแผนการเดิม หญิงสาวได้จับจองพื้นที่สร้างเล้าไก่แบบเดียวกันอีกสองที่ไว้ทางทิศเหนือและทิตใต้ของเนินเขา  อีกทั้งยังมีการปลูกไม้ผลไว้ในบริเวณพื้นที่ที่เหลือรอบ ๆ ด้วย

       หลังจากเล้าไก่ถูกสร้างเสร็จเรียบร้อย นางจะหว่านสมุนไพรไปทั่วภูเขา และตีนเขา ซึ่งได้แก่ ต้นโป้เหอ(สะระแหน่) ต้นไอ้เฉ่า(ต้นเวิร์มวู้ด) รวมทั้งสมุนไพรอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อเอาไว้ป้องกันยุงมาวางไข่ หรือเอามาให้ไก่จิกกินเป็นอาหาร ก็ดีด้วยเหมือนกัน

       ในระหว่างที่สร้างเล้าไก่ จะเริ่มมีการล้อมรั้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันพังพอน หนูป่า และสัตว์อื่น ๆ เหลียนฟางโจวยังสั่งทำรั้วลวดหนามสูง 2 หมี่ครึ่งในเมืองเป็นพิเศษ ใต้รั้วยังสั่งให้ก่อสร้างฐานอิฐสูงราว 10 กงเฟิน(เซนติเมตร)

  ครั้นแล้ว หญิงสาวก็ไปที่สวนผลไม้สกุลหลินเพื่อซื้อเถากุหลาบ มาปลูกไปตามรั้วรวดหนาม และให้ดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเลื้อยพันรอบรั้วลวดหนาม ไม่เพียงทำให้ได้ทัศนียภาพที่สวยงาม ยังให้ร่มเงาและบดบังสายตาจากคนภายนอกได้ เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยทีเดียว

       งานเหล่านี้ถูกเตรียมการไว้หมดแล้ว ส่วนฉินเฟิงได้รับคำสั่งให้ส่งคนมาคอยติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ  ดังนั้นเหลียนฟางโจวจึงไม่มีอะไรต้องดูอีก

  เมื่อมีเล้าไก่แล้ว หญิงสาวจึงคิดหาวิธีให้ได้ลูกเจี๊ยบมา

       ไม่มีที่ฝักไข่แบบยุคสมัยใหม่ในยุคสมัยโบราณนี้ และอาศัยการซื้อหาจากครอบครัวชาวบ้านในชนบท ที่อยู่กระจัดกระจายไปทั่ว ก็เป็นสิ่งไร้เหตุผล

ไก่ที่ถูกฟักออกมาส่วนใหญ่จะถูกเลี้ยงโดยพวกชาวบ้าน และไข่ที่ฟักไม่ได้ จะถูกเก็บไปขาย ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่ผู้คนเต็มใจขาย ต่อให้เต็มใจขาย พวกเขามีพร้อมขายจำนวนสักเท่าไร? ดังนั้นการซื้อลูกเจี๊ยบสองพันสองร้อยตัวไม่ใช่งานง่าย  เลยจริง ๆ

  เหลียนฟางโจวได้สอบถามจากหลายๆ ที่ เพียงพบว่ามีเพียงหนึ่งครอบครัวในหมู่บ้านเสี่ยวหวางในเขตชานเมืองทางทิศตะวันออกของเมืองเท่านั้น ที่รู้เกี่ยวกับไก่ค่าง(วิธีฟักไข่ไก่ของจีน)

       ที่เรียกว่า “ไก่ค่าง” เป็นความชำนาญเฉพาะที่ลึกลับและไม่เปิดเผยให้คนภายนอกล่วงรู้  ผู้ที่ทำได้มีน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ในเมืองๆหนึ่ง จะมีครอบครัวที่มีความชำนาญเช่นนี้อยู่มากที่สุด หนึ่งหรือสองครอบครัว หรือกระทั่งไม่มีเลย

  ครอบครัวที่ว่า คือครอบครัวสกุลหวางในหมู่บ้านเสี่ยวหวาง ซึ่งได้สืบทอดความรู้นี้มาหลายต่อหลายรุ่น

       บ้านพวกเขามีค่าง(เตียงเตา) ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ ยามที่ต้องการไก่ค่าง พวกเขาใส่ไข่ลงไปในค่างทีละฟอง ครั้นแล้วก็ดำเนินกระบวนการฟักไข่ โดยใช้ความร้อนที่ถูกส่งผ่านมาจากไฟซึ่งเกิดจากการเผาถ่าน

       นอกจากนี้ก็ไม่มีกลยุทธ์อื่นใดอีก ทุกอย่างขึ้นอยู่กับประสบการณ์ล้วน ๆ

       ในยุคสมัยโบราณนี้เมื่อไม่มีเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ และไม่มีเครื่องมืออื่นใดให้พึ่งพิง มันก็ไม่ง่ายที่จะรักษาอุณหภูมิความร้อนให้เหมาะสมสำหรับการฟักไข่ และสม่ำเสมอเท่ากันทุกจุดได้

        หากปราศจากประสบการยี่สิบถึงสามสิบปี ก็จะไม่มีทางทำสำเร็จ

       หากอุณหภูมิไม่เพียงพอ ลูกเจี๊ยบยากที่จะฟักออกมา ถึงออกมาได้ก็จะมีภูมิต้านทานต่ำกว่าลูกเจี๊ยบปกติ ซึ่งแทบเลี้ยงไว้ต่อไปไม่ได้ และโดยปกติจะไม่ค่อยกินอาหาร และดูเงื่องหงอยไม่มีแรง หากอุณหภูมิสูงไป ไข่จะฟักออกมาไม่ได้ หรือถ้าได้ก็จะฟักออกมาได้น้อยมาก

       วันนี้ ชายอายุห้าสิบปีแซ่หวางซึ่งอยู่ในหมู่บ้านเสี่ยวหวาง คือผู้ที่จะมารับผิดชอบภารกิจนี้ แต่ละปีเขาจะพาลูกชายอายุสามสิบปีมาเข้าหารือด้วย เพื่อเป็นการเรียนรู้ไปในตัว

  เมื่อใดก็ตามที่มีการทำไก่ค่าง เหล่าหวางโถวจะอยู่บนค่างตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะกินหรือดื่ม เขาแทบไม่ได้ละห่างจากค่างเลย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะรับรู้อุณภูมิของไก่ค่างตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดกินเวลายี่สิบสี่ ถึงยี่สิบห้าวัน และเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะได้นอนหลับยาว หรืองีบหลับเต็มที่

       เมื่อลูกเจี๊ยบทั้งหมดถูกฟักหมดแล้ว เหล่าหวางจะปรากฏตัวพร้อมด้วยหนวดยาวเฟื้อย หน้าตาหมองคล้ำ ดวงตาก็มืดครึ้มวูบไหว และใบหน้าซูบผอมแห้งเหี่ยว จนทำให้เขาสามารถนอนหลับยาวรวดเดียวถึงสามวันสามคืน!

       ลูกเจี๊ยบที่ออกมาจากค่างนี้ จะถูกนำไปขาย ผู้คนต้องซื้อลูกเจี๊ยบไปเลี้ยงในฤดูใบไม้ผลิเป็นปกติ ดังนั้นไก่ค่างของเหล่าหวางโถว เพียงมาจากค่างในฤดูใบไม้ผลิ

       ลูกเจี๊ยบหนึ่งตัวสามารถขายได้แปดถึงสิบอีแปะ ในฤดูใบไม้ผลิ จะมี 3 ถึง 4 ค่าง หากตัดต้นทุนซื้อไข่ไก่ออก เขาก็จะหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้เกือบหนึ่งปี

       เมื่อเหลียนฟางโจวและอาเจี่ยน เหลียนเจ๋อมาพบเขาที่บ้าน พอเขาได้ยินว่าเหลียนฟางโจวต้องการลูกเจี๊ยบสองพันกว่าตัวในครั้งเดียว ดังนั้นเหล่าหวางเลยชักจะมีปัญหาบ้างแล้ว

  ครอบครัวเขาผลิตไก่ค่างได้เจ็ดร้อยตัวในแต่ละครั้ง พวกเขาเพิ่งจะขายไก่ค่างไปเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง  อีกทั้งพวกเขาก็ต้องหยุดพักประมาณสิบวันก่อนจะเริ่มดำเนินการครั้งต่อไปด้วย

       เหลียนฟางโจวต้องการลูกเจี๊ยบราวสองพันตัว ถึงแม้เขาอยากหาเงินเพียงไร แต่ก็ไม่มีกำลังพอ

       เหลียนฟางโจวรีบยิ้มเอื้อนเอ่ย “ไม่เป็นไร ถูกต้องแล้ว! ท่านแค่ให้ไก่ค่างข้าสามรอบ! และขออย่าได้วิตกไปเลย หลังจากทำค่างเสร็จ ท่านก็สามารถพักผ่อนให้เพียงพอก่อนทำค่างครั้งถัดไป!”

        เหลียนฟางโจวรู้ดี นี่เป็นงานที่จุกจิกและต้องการความพิถีพิถันมาก และยังต้องใช้ประสบการณ์ล้วน ๆ ดังนั้นควรปรับตามสภาพจิตใจของผู้ทำ ถึงจะได้ผลดีที่สุด ไม่เช่นนั้น  หากมีความเพี้ยนแม้เพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น ก็ถือว่าจบสิ้นกันแล้ว

  เหล่าหวางดีใจมาก เขาพยักหน้าและแย้มยิ้มไม่หยุด “ประเสริฐนัก แม่นาง! อย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาแล้ว ข้าสามารถทำค่างครั้งถัดไปในอีกสองสามวัน! เมื่องานใกล้เสร็จ ข้าจะขอให้คนส่งจดหมายถึงเจ้า และเจ้าสามารถขับรถมาขนไปได้เลย ข้าจะเตรียมตระกร้าไม้ไผ่ก้นแบนไว้ที่บ้าน เจ้ามีหน้าที่แค่มาขนเอาไป!”

       เหลียนฟางโจวตื่นเต้นดีใจนัก พลางขอบคุณเขา และอดถามไม่ได้ “ในเมื่อท่านสามารถทำไก่ค่างได้ ไม่ทราบว่าท่านทำเป็ดค่างได้หรือไม่?”

  เหล่าหวางผงะถอยหลัง ไก่ค่างนี่ถือเป็นความเชี่ยวชาญจากบรรพบุรุษ และสำหรับเวลาหลายปีที่ผ่านมา พ่อและลูกชายคิดแต่เรื่องไก่ค่าง ไม่เคยคิดถึงการทำเป็ดค่างเลย

       “เรื่องนี้ ไม่ได้จริง ๆ ...” เหล่าหวางโถวแบมือทั้งสอง และเอ่ยด้วยรอยยิ้มจากใจจริง “ข้าละอายใจนัก!”นี่ไม่ใช่วิธีหาเงินอีกทางหนึ่งหรือ หากคิดขายเป็ดค่างขึ้นมา?

  

        แต่ในไม่ช้า เหล่าหวางโถวก็ไม่รู้สึกเสียใจอีกต่อไป และไม่คิดถึงการหาเงินด้วยวิธีนี้อีก เพราะต่อให้ต้องการทดลองทำดู มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเอาเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น